ริ้วขบวนค่อยๆ จัดแถวอย่างเป็นระเบียบ พระเครื่องเมืองสยาม
แลดูสวยงาม และเปิดทางให้ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมถ่ายรูปกับเหล่า “ทหารม้า” ใน “เครื่องแบบโบราณ” ที่น้อยครั้งจะมีให้ชม เสร็จพิธีการในช่วงเช้า พระเครื่อง ทางผู้จัดการก็เตรียมสำรับกับข้าวมื้อเที่ยงไว้รับรอง หากแต่พวกเรากลับอยากลองชิม “อาหารในค่าย” กันมากกว่า จึงพากันเดินตาม “เจ้าบ้าน” ไปยังร้านอาหารเล็กๆ ในบริเวณนั้น “ผัดกระเพราหมูสับราดข้าว” จานใหญ่ รสชาติจัดจ้าน เสิร์ฟไวทันใจ พระเครื่องเมืองสยาม จนเพื่อนในกลุ่มของเราแอบเย้าแหย่ว่า ทั้งขนาดและรสชาติสมกับมีไว้บริการ “ทหาร” จริงๆ ซึ่งก็เรียกรอยยิ้มกว้างจากเจ้าของร้านได้ทันทีทันใด
พระเครื่องเมืองสยาม หลังจากนั้นเราก็ชวนกันร่วมพิธีการในช่วงบ่าย ซึ่งเป็น “งานสำคัญ”
ที่จัดขึ้นในวันเดียวกัน มีตัวอักษรขนาดใหญ่ติดไว้ภายในอาคาร “ประมณฑ์ผลาสินธุ์” พระเครื่อง ซึ่งใช้เป็นมณฑลพิธีว่า “พิธีมหาพุทธาภิเษกพระเครื่องพระบูชาและพระบรมรูปจำลองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” จากข้อมูลมีทั้ง “พระบรมรูปจำลองสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ” พระพุทธรูปบูชาแบบสุโขทัยประยุกต์ “พระพุทธอดิศร”, “พระกริ่งตากสินมหาราช” และ “พระเครื่อง พระชัยวัฒน์ตากสินมหาราช” โดยเฉพาะ “พระกริ่งฯ” และ “พระชัยวัฒน์ฯ” นั้น เคยมีการจัดสร้างและมีพิธีพุทธาภิเษก หนแรกเมื่อ พ.ศ.2514 และนี่นับเป็นครั้งที่ 2 ที่มีพิธีลักษณะนี้สำหรับเหล่า “ทหารม้า” นั่นทำให้ไม่น่าแปลกใจ เมื่อเราจะได้รับฟังจากเหล่า “กูรู” ทั้งหลาย เกี่ยวกับรายชื่อ “พระเกจิอาจารย์” ที่รับมาร่วมพิธีในครั้งนี้ ล้วนแล้วแต่เลื่องลือ และมีลูกศิษย์ลูกหาทั่วทุกทุกที่ พระเครื่องเมืองสยาม ไม่ว่าจะเป็น “หลวงพ่อพูน” วัดบ้านแพน “หลวงพ่อเอียด” วัดไผ่ล้อม “หลวงพ่ออนันต์” วัดบางพลีน้อย และ “หลวงพ่อรวย” วัดตะโก ซึ่งทำหน้าที่ “จุดเทียนชัย”